ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 สายปากเกร็ด–สะพานต่างระดับนครราชสีมา เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานที่เชื่อมระหว่างจังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานคร จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครราชสีมา มีจุดเริ่มต้นบนถนนติวานนท์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306) ที่ห้าแยกปากเกร็ด ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และสิ้นสุดบนถนนมิตรภาพ กับทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมาด้านตะวันตก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 204) ที่ทางแยกต่างระดับนครราชสีมา ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ระยะทางทั้งสิ้น 298.515 กิโลเมตร อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง 296.707 กิโลเมตร

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 แบ่งออกเป็น 7 ช่วง ได้แก่ ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทรา ถนนสุวินทวงศ์ ถนนมหาจักรพรรดิ ถนนศุขประยูร ถนนฉะเชิงเทรา–กบินทร์บุรี ถนนกบินทร์บุรี–ปักธงชัย และถนนสืบศิริ

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 เริ่มต้นกิโลเมตรที่ 0 ที่แยกปากเกร็ด จุดตัดของถนนติวานนท์กับถนนแจ้งวัฒนะ ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีเส้นทางไปตามถนนแจ้งวัฒนะทางตะวันออก ตัดกับถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด แล้วตัดกับทางพิเศษอุดรรัถยาและทางพิเศษศรีรัช จากนั้นข้ามคลองประปาเข้าสู่เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ตัดกับถนนวิภาวดีรังสิต ที่แยกหลักสี่ ข้ามคลองถนน เข้าสู่เขตบางเขน และตัดกับถนนพหลโยธินที่วงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่ (อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ)

ถนนรามอินทรา (อังกฤษ: Thanon Rarm Intra) เริ่มจากวงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่ ในแขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ตัดออกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านแยกถนนลาดปลาเค้า ตัดกับถนนประดิษฐ์มนูธรรมและทางพิเศษฉลองรัช ผ่านตอนเหนือของเขตบึงกุ่ม แล้วเข้าสู่เขตคันนายาว ผ่านแยกถนนนวมินทร์ ตัดกับถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก ผ่านแยกถนนรัชดาภิเษก–รามอินทรา ผ่านแยกถนนสวนสยาม ข้ามคลองบางชันเข้าสู่เขตมีนบุรี และสิ้นสุดที่แยกเมืองมีน

ถนนรามอินทราตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ พลตำรวจโท พระรามอินทรา (ดวง จุลัยยานนท์) อธิบดีกรมตำรวจระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึงปี พ.ศ. 2489

ถนนสุวินทวงศ์ (อังกฤษ: Thanon Suwinthawong) เริ่มต้นจากปลายถนนรามอินทราที่สี่แยกเมืองมีน เขตมีนบุรี เลี้ยวซ้ายขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านถนนหทัยราษฎร์ ถนนสามวา คลองสามวา ถนนร่มเกล้า และถนนนิมิตใหม่ แล้ววกลงไปทางตะวันออกเฉียงใต้ เข้าแขวงแสนแสบ ตัดกับถนนรามคำแหง ถนนราษฎร์อุทิศ ถนนบึงขวาง และถนนคุ้มเกล้า เข้าสู่แขวงโคกแฝดและแขวงลำผักชี เขตหนองจอก ผ่านถนนเชื่อมสัมพันธ์ ถนนฉลองกรุง ถนนอยู่วิทยา และถนนร่วมพัฒนา เข้าสู่แขวงลำต้อยติ่งและแขวงกระทุ่มราย ผ่านถนนทหารอากาศอุทิศ สถานีตำรวจนครบาลสุวินทวงศ์ สุดเขตกรุงเทพมหานครที่คลองหลวงแพ่ง เข้าสู่ตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ผ่านตลาดสดสุวินทวงศ์ เข้าสู่อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา สิ้นสุดที่สะพานข้ามทางรถไฟฉะเชิงเทรา

ถนนสุวินทวงศ์เดิมมีชื่อเรียกว่า "ทางหลวงแผ่นดินสายมีนบุรี-ฉะเชิงเทรา-ปราจีนบุรี" ได้รับการตั้งชื่อดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นเกียรติแก่นายเกษม สุวินทวงศ์ ผู้ดำรงตำแหน่งนายช่างกำกับการเขตการทางปราจีนบุรีในขณะเริ่มก่อสร้างถนนสายนี้

ถนนมหาจักรพรรดิ (อังกฤษ: Thanon Maha Chakkraphat) สันนิษฐานว่าตั้งชื่อขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อครั้งที่ทรงปรับปรุงหัวเมืองต่าง ๆ หลังจากที่เสียสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ในสงครามช้างเผือก

เริ่มต้นที่ทางแยกต่างระดับโสธราเวช ตัดไปทางตะวันออก ผ่านสถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา ถนนศรีโสธร (ทางเข้าวัดโสธรวราราม) ข้ามแม่น้ำบางปะกงที่สะพานฉะเชิงเทรา

ถนนศุขประยูร (อังกฤษ: Thanon Suk Prayun) เริ่มจากสะพานฉะเชิงเทรา ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านวัดสุวรรณาราม สิ้นสุดที่ทางแยกคอมเพล็กซ์ ใกล้ที่ตั้งกองพลทหารราบที่ 11 ค่ายสมเด็จพระนั่งเกล้า อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เดิมถนนศุขประยูรเป็นชื่อที่กำหนดให้กับทางหลวงสายฉะเชิงเทรา - พนัสนิคม - ชลบุรี ต่อมาเมื่อมีการตั้งชื่อทางหลวงโดยใช้ระบบหมายเลข กรมทางหลวงจึงได้รวมถนนศุขประยูรช่วงสะพานฉะเชิงเทราถึงทางแยกคอมเพล็กซ์เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 และกำหนดให้ถนนศุขประยูรช่วงที่เหลือเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 315

เริ่มต้นที่ปลายถนนศุขประยูรที่ทางแยกคอมเพล็กซ์ เลี้ยวซ้ายไปทางตะวันออก ผ่านพื้นที่อำเภอบางคล้าและอำเภอพนมสารคาม ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 ที่ทางแยกต่างระดับชำขวาง ใกล้กับศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 359 (สายสระแก้ว-เขาหินซ้อน) ในตำบลเขาหินซ้อน แล้วตัดตรงขึ้นเหนือเข้าสู่พื้นที่อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ผ่านนิคมอุตสาหกรรม 304 1 และนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคกบินทร์ เข้าสู่พื้นที่อำเภอกบินทร์บุรี ตัดกับถนนสุวรรณศร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33) ที่ทางแยกกบินทร์บุรี (สามทหาร) โดยช่วงนี้จะเรียกโดยทั่วไปว่า ถนนฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี

เริ่มจากถนนสุวรรณศร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33) แล้วมุ่งขึ้นเหนือ ผ่านอำเภอนาดี อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติทับลาน เข้าสู่อำเภอวังน้ำเขียวและอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ผ่านค่ายปักธงชัย อ่างเก็บน้ำบ้านโนนแดง กู่เกษม และศูนย์วัฒนธรรมผ้าไหมปักธงชัย ก่อนถึงตัวอำเภอปักธงชัยมีทางแยกสองทาง โดยแยกไปเป็นทางเลี่ยงเมืองปักธงชัย สิ้นสุดที่หน้าโรงพยาบาลปักธงชัย โดยช่วงนี้ชาวบ้านจะเรียกโดยทั่วไปว่า "ถนนกบินทร์บุรี-ปักธงชัย"

ถนนในช่วงนี้ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2498 เป็นถนนลูกรังตลอดสาย จนกระทั่งในช่วงสงครามเวียดนาม เมื่อประเทศไทยประกาศเป็นมิตรร่วมรบกับสหรัฐอเมริกา จึงยินยอมรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอเมริกันในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 สหรัฐอเมริกาได้เดินทางมาถึงประเทศไทย และเริ่มก่อสร้างค่ายพักทหารห่างจากตัวจังหวัดนครราชสีมา 42 กิโลเมตร จึงมีการก่อสร้างถนนลาดยาง ระยะทาง 132.5 กิโลเมตร ความกว้าง 22 ฟุต เพื่อประโยชน์ทางด้านยุทธศาสตร์และเชื่อมชายฝั่งทะเลตะวันออกกับภาคอีสาน ด้วยมูลค่าโครงการ 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ถนนสายนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ต่อมากรมทางหลวงได้รับมอบถนนสายนี้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2512 ขึ้นทะเบียนเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 สายฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี-นครราชสีมา โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธานในพิธีเปิด

บริเวณสามแยกปักธงชัย กิโลเมตรที่ 132+500 ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 กับทางแยกถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) ได้มีการก่อสร้างอนุสรณ์ซึ่งก่อขึ้นด้วยปูนซีเมนต์และทาสีขาว แสดงข้อมูลในอนุสรณ์ว่า "ทางหลวงสายที่ ๓๐๔ นครราชสีมา-กบินทร์บุรี ทำการก่อสร้างโดยกองพันทหารช่างพิเศษที่ ๒๓ (ประเทศไทย) กองพันทหารช่างที่ ๕๓๘ (สหรัฐอเมริกา) และกองพันทหารช่างที่ ๘๐๙ (สหรัฐอเมริกา) โดยควบคุมของกองบัญชาการทหารสูงสุดแห่งประเทศไทย ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงธันวาคม ๒๕๑๑ ก้าวหน้า เพื่อมิตรภาพ ความปลอดภัย"

อนุสรณ์ดังกล่าวตั้งอยู่ใต้สะพานต่างระดับที่กรมทางหลวงได้ก่อสร้างทางแยกต่างระดับปักธงชัย อีกทั้งยังมีการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมาเพิ่มเติม จนกระทั่งสำนักงานแขวงการทางนครราชสีมาที่ 2 ได้เคลื่อนย้ายไปไว้บริเวณทางลงสะพานต่างระดับสามแยกปักธงชัย โดยได้ถอดเหล็กที่เป็นแผ่นป้ายข้อความจารึกการก่อสร้างถนนสาย 304 ออก เพื่อนำมาติดตั้งกับฐานจารึกใหม่

ถนนสืบศิริ (อังกฤษ: Thanon Suep Siri) เริ่มจากตรงจุดแยกก่อนถึงอำเภอปักธงชัย แต่เป็นแยกเข้าเมืองปักธงชัย ไปบรรจบกับทางเลี่ยงเมืองที่บริเวณหน้าโรงพยาบาลปักธงชัย จากนั้นมุ่งขึ้นเหนือตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 เข้าสู่อำเภอเมืองนครราชสีมา ผ่านสวนสัตว์นครราชสีมา สิ้นสุดเมื่อบรรจบกับถนนมิตรภาพ ที่ทางแยกต่างระดับนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

ถนนสืบศิริเดิมมีชื่อเรียกว่า "ทางหลวงแผ่นดินสายนครราชสีมา-กบินทร์บุรี" ต่อมาได้รับการตั้งชื่อดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นเกียรติแก่นายจำรัส สืบศิริ อดีตนายช่างกำกับการเขตการทางนครราชสีมา


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301